ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์เกษตร) – ตามรอยพระยุคลบาท สรรพศิลปศาสตราธิราช

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์เกษตร)

s2544-1

ebook-2544

btn2544-1
คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

พ.ศ. ๒๕๔๔  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดแก่ปวงชนชาวไทย ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกอนันต์ต่อเนื่องเป็นเวลานานในการพัฒนาให้ประชาชนชาวไทยอยู่ดีกินดีมีความสุข ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อทรงดูแลทุกข์สุขความเป็นอยู่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และสภาพแวดล้อมของประชาชนเสมอมา เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าในการเสด็จพระราชดำเนินนี้ ได้ทรงนำข้อมูลกลับมาศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาอย่างครบวงจร แบบองค์รวม ทั้งคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม  บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยยึดหลักความเรียบง่าย ประหยัด และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้เป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการพัฒนาคนให้มีสุขภาพดี มีอาหารการกินพอเพียงที่จะทำให้ร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมบูรณ์ มีความสามารถที่จะเรียนรู้เข้าใจ และประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ต่อมาต้องพัฒนาสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ในการทำมาหากิน ตลอดจนการพัฒนาและอนุรักษ์ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ มีถนนและสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทุนในการผลิตโดยเฉพาะในภาคการเกษตร เมื่อมีทุนมนุษย์และทุนทางกายภาพแล้ว ต้องมีทุนทางสังคมและมีเศรษฐศาสตร์การจัดการที่ดีในการผลิตและจำหน่ายที่จะช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งได้พระราชทานพระราชดำริเรื่องความเป็นชุมชน การช่วยเหลือและร่วมมือกันและกัน ความรู้รักสามัคคี ด้วยพระปรีชาสามารถทรงสังเคราะห์เป็นทฤษฎีใหม่สามขั้นตอนในการพัฒนา ได้ทรงทดลองศึกษาอย่างเป็นวิชาการ และมีการนำไปใช้จริงจนปรากฏเป็นผลสำเร็จแล้ว นอกจากนี้ยังทรงพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อให้เป็นที่ศึกษาสำหรับประชาชนทุกคน เป็นประดุจมหาวิทยาลัยธรรมชาติแบบเบ็ดเสร็จหรือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

          เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ประชาชนมักจะประยุกต์ใช้ในเรื่องความพอใจสูงสุด ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย การค้าพาณิชย์และการตลาด เพื่อให้ขายสินค้าได้จำนวนมาก ราคาสูงและมีกำไรมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทบทวนแนวคิดนี้ใหม่โดยพระราชทานพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมายถึงความสามารถของคน ครัวเรือน ชุมชน เมือง ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่งๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิด เพื่อเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับบุคคล คือ ความสามารถในการหาเลี้ยงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อนอยู่ตามฐานะ ตามอัตภาพ ที่สำคัญคือ ไม่หลงใหลไปตามกระแสวัตถุนิยม รู้จักอนุรักษ์สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ให้คงอยู่ ไม่มุ่งแต่ใช้จนทำลายสิ่งที่จำเป็นให้หมดลงแล้วต้องไปพึ่งพิงผู้อื่น เมื่อประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชนไทยได้ประจักษ์ชัดในพระปรีชาสามารถวิสัยทัศน์อันยาวไกลและลึกซึ้งในเรื่องเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะเมื่อทบทวนเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้พระราชทานแนวคิดและวิธีการอันทรงคุณค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สังคมจารีตประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชนชาวไทย

          พระราชวิริยะอุตสาหะในการทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังที่พรรณนามานี้ก่อให้เกิดการวางรากฐานแนวคิด วิธีการและกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย ทั้งเป็นการเพิ่มพลังสร้างขวัญและกำลังใจ เป็นประโยชน์ยิ่งต่อความก้าวหน้าทางวิทยาการของสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรไทยและนานาประเทศอย่างกว้างขวาง สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๘ türk ifşa alemi พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน กับทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวงวิชาการเศรษฐศาสตร์เกษตรสืบไป

line